ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่เชียงของ "ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช"


rnrnวันที่ 1 กันยายน 2567 ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้นางเยาวเรศ เมืองอินทร์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ และนางสาวประภัสสร อิสระไพโรจน์ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ ลงพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช พร้อมสอบถามประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ แนวทางการเตรียมความพร้อมรับมือ และสถานการณ์การเพาะปลูกพืชในพื้นที่ ดังนี้- สถานการณ์ปัจจุบัน : อำเภอเชียงของ เริ่มประสบภัยตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2567 ซึ่งปัจจุบันในหลายตำบลยังมีน้ำท่วมขังอยู่รวมระยะเวลาเกือบ 1 เดือน อำเภอได้มีการลงสำรวจพื้นที่เสียหายแล้ว แต่เกิดน้ำท่วมซ้ำพื้นที่เดิมทำให้ต้องสำรวจพื้นที่ได้รับความเสียหายใหม่อีกครั้ง- การประกาศเขตภัยพิบัติ : ประกาศแล้วจำนวน 3 ฉบับ รวมพื้นที่คาดว่าจะเสียหายทั้งหมดประมาณ 16,000 ไร่- วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง : จังหวัดเชียงรายได้มีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 10 เครื่อง เพื่อช่วยผลักดันน้ำในแม่น้ำอิงลงสู่แม่น้ำโขงได้เร็วขึ้น (รับน้ำมาจากกว๊านพะเยา ผ่านอำเภอเทิง และอำเภอขุนตาล) ปัจจุบันเครื่องหยุดการทำงานแล้วเพราะระดับความสูงน้ำโขงลดลงทำให้น้ำอิงระบายสู่แม่น้ำโขงได้ตามปกติ- ประเด็นหารือของทีมงานเกษตรอำเภอเชียงของ1. การตรวจรับรองความเสียหาย : สามารถประสานงานหน่วยงานอื่นๆ ในอำเภอมาช่วยตรวจสอบพื้นที่ได้หรือไม่ เช่น ตำรวจหรือทหารพื้นที่ เนื่องจากเกษตรตำบลมีเพียง 5 คน และพื้นที่เสียหายมีจำนวนมาก 2. ในกรณีที่น้ำท่วมเป็นวงกว้าง สามารถสุ่มตรวจพื้นที่ได้หรือไม่ สถานการณ์แปลงใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ1. แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์น้ำอ่าง ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พื้นที่ปลูกข้าวโพดเสียหายทั้งหมด 850 ไร่ เกษตรกร 56 ราย ความต้องการของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่1.1 ต้องการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น เนื่องจากข้าวโพดแช่น้ำเน่า ส่งกลิ่นเหม็น กระทบต่อสุขภาพ จึงต้องการ EM เพื่อบำบัดกลิ่นน้ำเหม็น1.2 ต้องการการพักชำระหนี้ เนื่องจากกลุ่มแปลงใหญ่ได้ลงทุนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในรอบการผลิตนี้ จำนวน 2 ล้านบาท2. แปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนพัฒนามันสำปะหลัง ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เกษตรกร 50 ราย พื้นที่ 468 ไร่ มันสำปะหลังถูกน้ำท่วมเสียหาย ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และไม่สามารถนำมาเป็นท่อนพันธุ์สำหรับรอบถัดไป อาจจะส่งผลให้ในพื้นที่ขาดแคลนท่อนพันธุ์ผลิตมันสำปะหลังในช่วงเดือนมีนาคม 2568ความต้องการของเกษตรกร2.1 ต้องการให้จัดหาแหล่งท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลอดโรค และเชื่อถือได้ สะดวกในการขนส่ง ในเดือนมีนาคม 25683. แปลงใหญ่อื่นๆที่ได้รับความเสียหาย3.1 แปลงใหญ่ผักเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยบ้านแต๋น ตำบลสถาน เกษตรกร 32 ราย พื้นที่ 42 ไร่3.2 แปลงใหญ่ข้าว ตำบลห้วยซ้อ ตำบลห้วยซ้อ เกษตรกร 47 ราย พื้นที่ 516 ไร่3.3 แปลงใหญ่ข้าว กลุ่มธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านครึ่งใต้-ประชาภิวัฒน์ ตำบลคนรึ่ง เกษตรกร 142 ราย พื้นที่ 2,493 ไร่3.4 แปลงใหญ่ข้าวกลุ่มวิสาหกิจ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลบ้านหลวง เกษตรกร 64 ราย พื้นที่ 848 ไร่3.5 แปลงใหญ่ลำไย ตำบลครึ่ง เกษตรกร 55 ราย พื้นที่ 218 ไร่3.6 แปลงใหญ่ข้าวบุญเรืองใต้ ตำบลบุญเรือง เกษตรกร 34 ราย พื้นที่ 382 ไร่ทั้งนี้ แปลงใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ของอำเภอเชียงของ ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยrnrn



เกษตรเขต 6 ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนากา...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...

สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดกิจกรรมศึกษาดูงานระบบการให้น้ำพืชในพื้นที่ โครงกา...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...

สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดประชุมชี้แจงการจัดทำ Flood Risk Map ด้วยโปรแกรมทา...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ ...

เกษตรเขต 6 ร่วมงานมหกรรมตลาดสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร จังหวัดลำปาง...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 28 มิถุนายน 2568 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้ นายเรืองพจน์...