ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นทีี่จังหวัดลำปาง "ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช"


rnrnวันที่ 4 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้นางสาวสุพรพรรณ์ ไชยเฉพาะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวชญานิศ นนทธรรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่จังหวัดลำปาง ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช พร้อมสอบถามประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ แนวทางการเตรียมความพร้อมรับมือ และสถานการณ์การเพาะปลูกพืชในพื้นที่ มีดังนี้1.สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดลำปาง เกิดอุทกภัยขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2567 จากฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง ในพื้นที่ทางเหนือ ได้แก่ อ.วังเหนือ อ.แจ้ห่ม อ.งาว โดยเขื่อนกิ่วคอหมามีปริมาณน้ำ 90% ทำให้น้ำทะลักลงสู่พื้นที่ อ.วังเหนือ เกิดน้ำป่าไหลหลากที่ อ.แจ้ห่ม และ อ.งาว เกิดน้ำล้นตลิ่งจากลำน้ำแม่งาวและลำน้ำแม่งอนหนุนสูงเข้าท่วมพื้นที่บริเวณรอบลำน้ำ ส่งผลกระทบต่อพืชหลักได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปี เกิดสถานการณ์น้ำท่วมซ้ำซ้อน เกิดความเสียหายโดยสิ้นเชิงต่อพืชที่ปลูกบริเวณลำน้ำโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันมีการประกาศเขตภัยพิบัติแล้วเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 โดยพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหายและนำไปบันทึก กษ01 ในการเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติเพื่อเสนอต่อ ก.ช.ภ.อ. ต่อไปตามขั้นตอนการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยปี 652.มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูหลังน้ำลด สนง.กษจ.ลำปาง มีแผนการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายน โดยการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายร่วมกับสนง.กษอ. แจกจ่ายสารชีวภัณฑ์ในพื้นที่ที่น้ำลด และสำรวจความต้องการรับการช่วยเหลือซ่อมแซมเครื่องจักรร่วมกับศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป 3.ผลกระทบของอุทกภัยต่อกลุ่มแปลงใหญ่ แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อำเภองาว ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมาในพื้นที่อำเภองาว ตำบลหลวงใต้ สมาชิกทั้งหมด 490 ราย ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยประมาณ 50 ราย พื้นที่ 400 ไร่ เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวนาปี โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บริเวณริมน้ำส่วนใหญ่ถูกน้ำซัดหักโค่นไม่สามารถฟื้นฟูได้ เป็นข้าวโพดที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวเป็นส่วนมาก เกิดผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรโดยตรงเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงเฉลี่ย 4,750 บาทต่อไร่ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัด นายพิเชษธ รักชาติโชติกูล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และว่าที่ ร.ต.หญิง วรณัน จารุทะวัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ได้ชี้แจงขั้นตอนการขอรับสิทธิ์การช่วยเหลือกรณีประสบภัย เอกสารที่ต้องใช้แจ้งกษ01 รวมถึงช่องทางการติดตามความคืบหน้าให้กับเกษตรกรทราบ และพร้อมให้การช่วยเหลือด้านการเกษตรต่อไปrnrn



เกษตรเขต 6 ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนากา...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...

สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดกิจกรรมศึกษาดูงานระบบการให้น้ำพืชในพื้นที่ โครงกา...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...

สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดประชุมชี้แจงการจัดทำ Flood Risk Map ด้วยโปรแกรมทา...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ ...

เกษตรเขต 6 ร่วมงานมหกรรมตลาดสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร จังหวัดลำปาง...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 28 มิถุนายน 2568 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้ นายเรืองพจน์...