ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่อำเภอท่าวังผา และอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน "ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช"

rnrnวันที่ 19-20 กันยายน 2567 ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้นางสาวอังคณา สิงห์ทอน นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ และนางสาวชญานิศ นนทธรรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่อำเภอท่าวังผา และอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช พร้อมสอบถามประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ แนวทางการเตรียมความพร้อมรับมือ และสถานการณ์การเพาะปลูกพืชในพื้นที่ ดังนี้1. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เสี่ยง ช่วงวันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา อำเภอท่าวังผาประสบอุทกภัยทั้งสิ้น 10 ตำบลทั่วทั้งพื้นที่อำเภอ เกิดจากปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่องทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจนเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและเกิดดินโคลนทับถมในแปลง ยอดตัวเลขความเสียหายทั้งสิ้น เกษตรกร 1,300 ครัวเรือน ผ่านการตรวจสอบแล้ว 681 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 903 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชไร่และพืชผัก ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอเข้าที่ประชุม ก.ช.ภ.อ. ในวันที่ 30 กันยายน 67 เพื่อให้ประเมินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับความเสียหายต่อไป ประมาณการวงเงินช่วยเหลือที่ 1,248,609 บาท ส่วนอำเภอภูเพียงเกิดอุทกภัยช่วงวันที่ 24-29 สิงหาคม 2567 จำนวนเกษตรกรประสบภัย 465 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรคาดว่าจะเสียหาย 1,158 ไร่ แยกเป็นข้าวนาปี 708 ไร่ พืชไร่พืชผัก 240 ไร่ และไม้ผลไม้ยืนต้น 210 ไร่ อยู่ในขั้นตอนการนำเข้าที่ประชุม ก.ช.ภ.อ. เพื่อขอรับการช่วยเหลือในวันที่ 20 กันยายน 2567 นี้2. แปลงใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ แปลงใหญ่ข้าวตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา พื้นที่การเกษตรประมาณ 60 ไร่ เป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่ายบริษัทเอกชน เช่น บ.ไทยเจริญ (จ.อุดรธานี) ประมาณการพื้นที่เสียหายจากอุทกภัยและดินโคลนทับถมประมาณ 10% ของพื้นที่ให้ผลผลิตทั้งหมด มูลค่าความเสียหาย 900,000 บาท (ตันละ 15,000 บาท ทั้งหมด 60 ตัน) ทั้งนี้สำนักงานเกษตรอำเภอท่าวังผาได้เร่งดำเนินการบันทึก กษ01 ของสมาชิกแปลงใหญ่ที่ได้รับความเสียหายเข้าระบบภัยธรรมชาติและประสานกองช่างของหน่วยงานอปท.ในพื้นที่ให้ประเมินค่าใช้จ่ายในการตักดินออกจากพื้นที่ในวงเงินไม่เกินไร่ละ 7 พันบาทตามระเบียบกระทรวงการคลัง เพื่อประกอบการขอรับการช่วยเหลือต่อไป ปัจจุบันตำบลป่าคาตรวจสอบประเมินแล้ว 15 ราย กรณีดินทรายทับถมพื้นที่เกษตรกรรม 8 ราย พื้นที่ปลูกข้าวนาปีเสียหาย 8.50 ไร่ และกรณีพืชตาย 7 ราย เสียหาย 2.75 ไร่ ส่วนพื้นที่อำเภอภูเพียงไม่มีแปลงใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภ้ยในช่วงที่ผ่านมา3. ปัจจุบันจังหวัดน่านไม่มีอาคาร สำนักงาน และทรัพย์สินราชการเสียหายจากอุทกภัยแล้ว4. การดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ จังหวัดน่านได้รับสนับสนุนจาก ศทอ.เชียงใหม่ เป็นสารชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาแบบหัวเชื้อจำนวน 100 ขวด และแบบพร้อมใช้ 300 กิโลกรัม กำหนดส่งมอบวันที่ 24-26 กันยายน 2567 ศขพ.ลำพูน สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 8,200 ซอง สำนักงานเกษตรจังหวัดน่านอยู่ระหว่างการจัดสรรลงพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้จังหวัดมีการสื่อสารกับอำเภอ และอำเภอเองก็มีการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ให้ทราบสถานการณ์น้ำ เตือนภัย และการเฝ้าระวังอย่างทั่วถึงผ่านกลไกผู้นำชุมชนและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องสิ่งที่พื้นที่ต้องการรับสนับสนุน: 1. ปัจจัยการขยายสารชีวภัณฑ์เชื้อไตรโคเดอร์มา (เมล็ดข้าวสาร, หัวเชื้อ, อื่นๆ) เพื่อที่ ศจช. ในพื้นที่จะผลิตเองให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงหลังน้ำลดที่เกิดโรคและแมลงระบาดหนัก 2. เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองนำมาปลูกทดแทนพืชที่เสียหายจากอุทกภัยrnrn
เกษตรเขต 6 ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนากา...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...
สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดกิจกรรมศึกษาดูงานระบบการให้น้ำพืชในพื้นที่ โครงกา...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...
สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดประชุมชี้แจงการจัดทำ Flood Risk Map ด้วยโปรแกรมทา...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ ...
เกษตรเขต 6 ร่วมงานมหกรรมตลาดสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร จังหวัดลำปาง...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 28 มิถุนายน 2568 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้ นายเรืองพจน์...