ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นทีี่จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน "ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช"

rnrnวันที่ 30 กันยายน 2567 ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้นายพัชญ์ธน วิกัน ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ลงพื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และสถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช พร้อมสอบถามประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ แนวทางการเตรียมความพร้อมรับมือ และสถานการณ์การเพาะปลูกพืชในพื้นที่ ดังนี้ จังหวัดลำปาง1. สถานการณ์ภัยปัจจุบันในพื้นที่ ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว พืชที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง พืชผัก และไม้ผล (ส้มเกลี้ยง, มะนาว, ส้มโอ ฯลฯ) อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายเพื่อนำเข้าที่ประชุม ก.ช.ภ.อ./ท้องถิ่น ต่อไป 1.1 อำเภอเมืองปาน ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว พืชที่ได้รับความเสียหายได้แก่ ข้าว 39.5ไร่, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1.75 ไร่ อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือโดยใช้งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภัยครั้งที่ 2 ข้าวนาปี ประมาณ 51 ไร่ อยู่ระหว่างการลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหาย 1.2 อำเภอเมืองลำปาง ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว พื้นที่ได้รับผลกระทบ มี 11 ตำบล พืชที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง พืชผัก การช่วยเหลือ อยู่ขั้นตอนการ เก็บเอกสาร กษ.01 เพื่อสำรวจพื้นที่เสียหาย จากการสอบถามไปยังอำเภอ จะมีการประชุม ก.ช.ภ.อ ครั้งที่ 1 ช่วงวันที่ 8-10 ตุลาคม 2567 1.3 อำเภอห้างฉัตร สถานการณ์ปัจจุบัน ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว ชนิดพืชที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ข้าว พืชผัก อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายเพื่อเข้าที่ประชุม ก.ช.ภ.อ. ภายในเดือนตุลาคม 25671.4 อำเภอแจ้ห่มระดับน้ำลดสู่ระดับปกติ ชนิดพืชที่ได้รับผลได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ไม้ผล อยู่ระหว่างสำรวจประเมินความเสียหายในพื้นที่ทุกตำบล ตำบลที่ อปท. ช่วยเหลือแล้ว 1 ตำบล คือ ตำบลบ้านสา (งบประมาณช่วยเหลือ 30,000บาท) 1.5 อำเภอเกาะคา พืชที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ส้มโอ อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย แจ้ง ผู้นำชุมชน เกษตรกร เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอรับการช่วยเหลือ 1.6 อำเภองาว รายงานการเกิดภัยอำเภองาว รอบภัยวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ข้าว จำนวน 34 ราย พื้นที่เสียหาย 45.5 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 88 ราย พื้นที่เสียหาย 132.625 ไร่ งบประมาณ 355,224.50 บาท (อบต.ให้ความช่วยเหลือ 7 ตำบล งบประมาณ 159,984.50 บาท) 1.7 อำเภอสบปราบ ระดับน้ำเริ่มลดลง แต่ยังท่วมขังในบางพื้นที่ ชนิดพืชที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ข้าวพืชไร่ (มันสำปะหลัง, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) พืชผัก ไม้ผลและไม้ยืนต้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนวางแผนเตรียมสำรวจพื้นที่เสียหาย แจ้งผู้นำและเกษตรกรจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอรับความช่วยเหลือ 1.8 อำเภอแม่พริก พืชที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ข้าว คาดว่าจะเสียหาย 1,821 ไร่ พืชไร่ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, มันสำปะหลัง) คาดว่าจะเสียหาย 949 ไร่ ไม้ผล (ส้มเกลี้ยง, ส้มโอ, มะนาว) คาดว่าจะเสียหาย 338 ไร่ การดำเนินการปัจจุบันอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายและรวบรวมเอกสาร กษ.01 จากเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายด้านพืชในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ2. แปลงใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 2.1 แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตำบลหลวงใต้ อำเภองาว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 12 ราย 18 ไร่ ต้องการรับการช่วยเหลือเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2.2 แปลงใหญ่พืชผัก อำเภอห้างฉัตร เสียหาย 1 ราย พื้นที่ 1 งาน ต้องการรับความช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์ กล้าพันธุ์ผัก2.3 แปลงใหญ่ส้มโอตำบลนาแก้ว เกษตรกร 30 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 50 ไร่ ต้องการต้นพันธุ์เพื่อปลูกทดแทน2.4 แปลงใหญ่กระเทียมบ้านอ้อน อำเภองาว จำนวน 15 ราย 20 ไร่ ขอช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าว2.5 แปลงใหญ่มันสำปะหลัง หมู่ที่ 13 ตำบลสมัย อำเภอสบปราบ สมาชิกที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด 20 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 100 ไร่ 2.6 แปลงใหญ่พืชผัก หมู่ 3 ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ สมาชิกที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด 30 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 25 ไร่2.7 แปลงใหญ่พืชผักตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ สมาชิกที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด 30 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 45 ไร่ ต้องการรับความช่วยเหลือในด้านพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต2.8 แปลงใหญ่ส้มเกลี้ยงตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก เกษตรกรได้รับความเสียหาย40 ราย พื้นที่ได้รับความเสียหาย 60 ไร่ ต้องการรับการช่วยเหลือด้านกิ่งพันธุ์ ปุ๋ย และองค์ความรู้ในการฟื้นฟูและการจัดการดูแลหลังน้ำลด2.9 แปลงใหญ่มะนาวตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก เกษตรกรได้รับความเสียหาย 50 ราย พื้นที่ได้รับความเสียหาย 75 ไร่ ต้องการรับการช่วยเหลือด้านกิ่งพันธุ์ ปุ๋ย และองค์ความรู้ในการฟื้นฟูและการจัดการดูแลหลังน้ำลด2.10 แปลงใหญ่ข้าวตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก เกษตรกรได้รับความเสียหาย 130 ราย พื้นที่ได้รับความเสียหาย 1,000 ไร่ ต้องการรับการช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ย และองค์ความรู้ในการฟื้นฟูและการจัดการดูแลหลังน้ำลด3. ทรัพย์สินราชการ อาคารสำนักงานที่เสียหายจากอุทกภัย มีหรือไม่ ไม่มีทรัพย์สินราชการได้รับความเสียหาย4. มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูหลังน้ำลด4.1 สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ที่ได้รับจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักพืช จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 1 ตุลาคม 2567 โดยมอบให้เกษตรกรและศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในอำเภอที่ประสบอุทกภัย4.2 ศูนย์จักรกลกำแพงเพชร เปิดจุดบริการซ่อมเครื่องจักรกล วันที่ 28 กันยายน 2567 ณ ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร (ตลาดเกษตรกร) จังหวัดลำปาง-----------------------------------จังหวัดลำพูน1. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่การเกษตร- อุทกภัย ห้วงภัยวันที่ 23 กันยายน 2567 เกษตรจังหวัดลำพูน เฝ้าติดตามและร่วมประชุมประเมินสถานการณ์น้ำ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญในการสำรวจและเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ตามการรายงานความเสียหายเบื้องต้น คชภ.1 ด้านพืช จำนวน 4 อำเภอ ดังนี้- อำเภอเมืองลำพูน ได้รายงานความเสียหายเบื้องต้น ในพื้นที่ 10 ตำบล 55 หมู่บ้าน เกษตรกรคาดว่าจะเสียหาย 397 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย จำนวน 1,595 ไร่ (ข้าว , พืชผัก ,ลำไย) ซึ่งยังคงมีรายงานความเสียหายเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระดับน้ำยังคงท่วมสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก- อำเภอแม่ทา ได้รายงานความเสียหายเบื้องต้น ในพื้นที่ 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน เกษตรกรคาดว่าจะเสียหาย 33 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย จำนวน 78 ไร่ (ข้าว) ซึ่งสถานการณ์น้ำลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติ เจ้าหน้าที่เตรียมลงพื้นที่สำรวจความเสียหายตามแผนดำเนินการสำรวจความเสียหายต่อไป- อำเภอทุ่งหัวช้าง ได้รายงานความเสียหายเบื้องต้น ในพื้นที่ 3 ตำบล 26 หมู่บ้าน เกษตรกรคาดว่าจะเสียหาย 475 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย จำนวน 471 ไร่ (ข้าว) ซึ่งสถานการณ์น้ำลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เจ้าหน้าที่เตรียมลงพื้นที่สำรวจความเสียหายตามแผนดำเนินการสำรวจความเสียหายต่อไป- อำเภอบ้านธิ ได้รายงานความเสียหายเบื้องต้น ในพื้นที่ 2 ตำบล 12 หมู่บ้าน เกษตรกรคาดว่าจะเสียหาย 54 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย จำนวน 154 ไร่ (ข้าว , พืชผัก ,ลำไย) ซึ่งสถานการณ์น้ำลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เจ้าหน้าที่เตรียมลงพื้นที่สำรวจความเสียหายตามแผนดำเนินการสำรวจความเสียหายต่อไป2. พื้นที่แปลงใหญ่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ - อำเภอเมืองลำพูน 1. แปลงใหญ่ผักตำบลอุโมงค์ เกษตรกร 30 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 90 ไร่ (พืชผัก) 2. แปลงใหญ่ข้าว สหกรณ์การเกษตรเมืองลำพูน จำกัด เกษตรกร 5 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 20 ไร่ 3. แปลงใหญ่ลำไยตำบลอุโมงค์ เกษตรกร 30 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 20 ไร่ - อำเภอบ้านธิ แปลงใหญ่ข้าวอำเภอบ้านธิ เกษตรกร 15 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 74 ไร่3. ความเสียหายต่ออาคารสำนักงานและทรัพย์สินส่วนราชการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำพูน น้ำเข้าท่วมเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการขนสิ่งของ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เอกสารต่างๆ ขึ้นบนโต๊ะที่สูง และบางส่วนขนเก็บไว้บนที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน ขณะนี้ระดับน้ำยังคงท่วมขัง ระบบไฟฟ้าถูดปิด เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงานได้ ในส่วนของสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน จะได้ทำหนังสือเชิญเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานภัยพิบัติระดับอำเภอ เข้าซักซ้อม ทำความเข้าใจเกี่ยวกับขึ้นตอนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ในวันที่ 8 ตุลาคม 2567ขั้นตอนการปฏิบัติงานหลังเกิดภัย สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูนได้ประสาน สทอ.ในการขอรับการสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ ในการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าของพืชหลังจากน้ำท่วม และจะทำหนังสือขอรับสนับสนุนเมล็ดพันธ์ผัก ต้นกล้าผัก จากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการเยียวยาเกษตรกรผุู้ประสบภัยพิบัติต่อไปrnrn
เกษตรเขต 6 ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนากา...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...
สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดกิจกรรมศึกษาดูงานระบบการให้น้ำพืชในพื้นที่ โครงกา...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่...
สสก.6 จ.เชียงใหม่ จัดประชุมชี้แจงการจัดทำ Flood Risk Map ด้วยโปรแกรมทา...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2568 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ ...
เกษตรเขต 6 ร่วมงานมหกรรมตลาดสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร จังหวัดลำปาง...
ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 28 มิถุนายน 2568 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้ นายเรืองพจน์...