ร่วมใจหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร เพื่อสิ่งดีๆ


หลังการเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวโพดและพืชอื่นๆเสร็จแล้ว เกษตรกรมักทำการเผาฟางข้าว ตอซังข้าว ซังข้าวโพดหรือเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อความสะดวกในการไถเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกพืชใหม่ในฤดูการผลิตต่อไปและถ้าเป็นไร่อ้อยก็จะเผาเพื่อสะดวกในการตัดและลดต้นทุนค่าจ้างตัดดังนั้นการเผาในพื้นที่การเกษตรจะมีผลกระทบหลายด้าน ได้แก่

1.ด้านการเกษตร การเผาจะทำลายอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารในดินการเผาฟางข้าวเหมือนกับการเผาปุ๋ย ทำให้สูญเสียธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืชโดยทำลายธาตุอาหารหลัก (N-P-K) คิดเป็นมูลค่าเงินได้ถึง 216 บาท/ไร่ กล่าวคือสูญเสีย ไนโตรเจน(N) ปริมาณ 6.9กก.ต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 79 บาท/ไร่ ,ฟอสฟอรัส(P) ปริมาณ 0.8 กก.ต่อไร่คิดเป็นมูลค่า 10 บาทต่อไร่ และโพแทสเซียม (K)ปริมาณ 15.6 กก.ต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 172 บาท/ไร่

นอกจากนั้นการเผาในพื้นที่เกษตรยังทำลายดินอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดินลดต่ำลงโครงสร้างดินอัดแน่นไม่ร่วนซุยกักเก็บน้ำได้น้อยลงทำลายน้ำในดิน ทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซสเซียสน้ำในดินระเหยสู่อากาศ ความชื้นในดินลดน้อยลง ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินระบบนิเวศของดินไม่สมดุล เกิดการแพร่ระบาดของโรค ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

2. ด้านผิดกฎหมาย หากผู้ใดทำการเผาอาจต้องระวางโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 218 และมาตรา 220 อาจถูกจำคุกไม่เกิน7 ปีและปรับไม่เกิน 14,000 บาท

3. ด้านสุขภาพอนามัย ทำลายสุขภาพเป็นอันตรายต่อชีวิต ก๊าซคาบอนมอนนอกไซด์(CO) ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลียและถ้าได้รับจำนวนมากอาจหมดสติและเสียชีวิตได้ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2) ทำให้เกิดระคายเคืองตาและระบบทางเดินหายใจ เช่นลำคอซึ่งอาจทำให้แน่นหน้าอก และฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM10) ที่เกิดจากการเผาสามารถไปในระบบทางเดินหายใจ เกิดผลเสียต่อร่างกายอาจทำให้หลอดลมอักเสบเป็นโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือโรคมะเร็งปอดได้

4.ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจการเผาทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาจะลอยตัวขึ้นไปปนเปื้อนกับไอน้ำในชั้นบรรยากาศทำให้ไอน้ำไม่บริสุทธิ์ ไม่สามารถรวมตัวและกลั่นตกลงมาเป็นฝนได้ ทำให้โลกร้อน เกิดปัญหาฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงและน้ำท่วมขัง การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในที่โล่งทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ มอนนอกไซด์(CO2)มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์(N2O) ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ClimateChange) ทำให้โลกร้อนขึ้น ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลและเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น เกิดน้ำท่วมหนัก ฝนแล้งเป็นเวลายาวนาน

5.ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปัจจุบันภาคเหนือตอนบนมักประสบปัญหาหมอกควันปกคลุมอยู่เป็นประจำทุกปีโดยมีสาเหตุหลักมาจากการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ทำให้อากาศไม่แจ่มใสส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและทำให้เกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากมาย นอกจากนี้อาจเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศได้

ดังนั้นเกษตรกรสามารถสร้างทางเลือกโดยนำเศษวัสดุดังกล่าวทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ อาทิเช่น ฟางและตอซังข้าวเมื่อไม่เผาและทิ้งไว้ในนาหลังการเก็บเกี่ยวก็จะได้ประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุนความร้อนจากแสงอาทิตย์จะทำให้ฟางข้าวกรอบเนื่องจากความร้อนของแสงแดดช่วงเดือนมกราคม - เมษายน จะร้อนจัดเมื่อถึงเดือนพฤษภาคมฝนตก จะทำให้เกิดน้ำขังในกระทงนา และฟาง/ตองซังข้าวจะอ่อนตัวและแช่น้ำกลายเป็นปุ๋ยชีวภาพในกระทงนาเป็นอย่างดีซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วฟางข้าว 1 ไร่ มีปุ๋ยอยู่เป็นจำนวนมาก หากเผาทิ้งจะทำให้สูญเสียธาตุอาหารพืชในดินเทียบกับสุญเสียปุ๋ยสูตรต่างๆเช่น สูญเสียปุ๋ยยูเรีย จำนวน 19.56กิโลกรัม ,ปุ๋ยสูตร 16-20-0 จำนวน 35 กิโลกรัม ,ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 34.86กิโลกรัม ธาตุซิลิกอนที่ทำให้ต้นข้าวแข็งแรงจำนวน 28 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่าถ้าเราไม่เผาฟางข้าวทิ้งก็สามารถลดต้นทุนการผลิตได้และลดภาวะปัญหาหมอกควัน

เมื่อเกษตรกรหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรแล้วจะได้สิ่งดีๆ5 อย่างคือ อากาศดี สุขภาพดี เศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดีและได้ปุ๋ยดีจากธรรมชาติ เกษตรกรสนใจทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัดในพื้นที่

_____________________________________

นายกุณฑล เทพจิตรา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จ.เชียงใหม่โทร.053-908666




ดาวน์โหลด

สสก.6 ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประกวด ศจช. และ ศดปช....

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 ...

สสก. 6 ประชุมสถานการณ์ภัยพิบัติและการพัฒนาระบบรายงานสถานการณ์การเกิดภั...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 ...

เกษตรเขต 6 ประชุมด่วน เร่งรัด “เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง”...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 ...

สสก. 6 ร่วมประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืช ตามระบบก...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 ...