การทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยง่ายๆ ของนายกดำรงค์


การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้
นายดำรงค์ จินะกาศ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทากาศเหนือ อ.แม่ทา จ.ลำพูนและเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ(ศพก.)การผลิตลำไยคุณภาพ อ.แม่ทา จ.ลำพูน รวมทั้งเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวนระดับเขต ปี 2558 กล่าวว่า การทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไยนี้ ไม่ต้องลงทุนสูงและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย อีกทั้งประหยัดการให้น้ำประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน รวมทั้งลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี โดยสังเกตได้จากมีไส้เดือนดินและเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การลาดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย
หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย ให้เกษตรกรทำการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม จากนั้นนำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดเลาะใบแล้ววางกิ่งเรียงรอบต้นลำไย จากทรงพุ่มเข้าหาโคนต้น และกวาดใบลำไยมากองทับกิ่งลำไย พร้อมทั้งโรยปุ๋ยคอกกับเชื้อ พ.ด บนกองของกิ่ง/ใบลำไย ทำแบบนี้หลายๆชั้น และให้น้ำโดยสปริงเกอร์หรือสายยางบีบปลายรดให้กระจายทั่วกองปุ๋ยหมัก จะทำให้น้ำซึมผ่านลงตามช่องว่างของกิ่งที่วางเรียงกัน ทำให้กองปุ๋ยหมักไม่เกิดความร้อน เมื่อน้ำซึมลงดิน ก็สามารถเก็บความชื้นได้ดีเพราะมีใบลำไยกลบคลุมอยู่ หลังจากนั้นให้น้ำทุก 7-10 วัน ประมาณ 6-8 เดือน กิ่งและใบลำไยก็จะย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ต้นลำไย
นายนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จ.เชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่าการผลิตลำไยทั้งในและนอกฤดูเพื่อให้ได้คุณภาพตามตลาดต้องการนั้น เกษตรกรจะต้องวางแผนการผลิต มีการบริหารจัดการที่ดีและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง โดยนำมากองหมักไว้ใต้ต้นลำไยเป็นวิธีการที่เกษตรกรชาวสวนลำไยทำได้ไม่ยุ่งยาก สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้
เกษตรกรชาวสวนลำไยที่สนใจการผลิตลำไยคุณภาพและการลดต้นทุนด้วยการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไยหลังการตัดแต่งกิ่ง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน โทร.053-511120 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทา จ.ลำพูน โทร.053-976569 หรือนายดำรงค์ จินะกาศ เกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ(ศพก.)การผลิตลำไยคุณภาพ อ.แม่ทา จ.ลำพูนและเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวนระดับเขต ปี 2558 โทร.081-7247327




ดาวน์โหลด

เกษตรเขต6 ติดตามอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประ...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 18 กันยายน 2567 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยนายเรืองพจน...

ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่อำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังห...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 18 กันยายน 2567 ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้นายทนงศักดิ์ เจริญสนองกุ...

สสก. 6 ติดตามระบบน้ำในระดับไร่นา 3 จังหวัดภาคเหนือ...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 16-18 กันยายน 2567 นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที...

ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นทีี่อำเภอดอยหลวง อำเภอแม่สาย จั...

ข่าว/กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 17 กันยายน 2567 ศปภ. ภาคเหนือกรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายให้นายทนงศักดิ์ เจริญสนองกุ...