ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การให้น้ำลำไยอย่างรู้คุณค่าโดยการให้น้ำระบบสปริงเกอร์
- ใช้น้ำระบบสปริงเกอร์ช่วยควบคุมปริมาณการให้น้ำมากน้อยเฉพาะจุดได้ ช่วยประหยัดน้ำและค่าไฟฟ้า
- ช่วยให้น้ำตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
การกระตุ้นลำไยให้ออกดอกและติดผล
- หลังการเก็บเกี่ยวให้ใส่ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง (25-7-7 หรือ 46-0-0 + 15-15-15)
- พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 15-0-0 และอาหารเสริมเร่งการแตกใบ
- รักษาใบอ่อนแต่ละชุดไม่ให้แมลงทำลาย ให้ลำไยแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง
- ใช้สารโปรตัสเซี่ยมคลอเรตจากแหล่งที่เชื่อถือได้
- มีการจัดการที่ดีหลังการราดสารโปรตัสเซี่ยมคลอเรต
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยและการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมี
- หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง มองทะลุรอบต้น
- ใช้ใบลำไยที่ตัดแต่งกิ่งคลุมใต้โคนต้นบางๆ -หลังจากการตัดแต่งกิ่งและใช้ใบลำไยที่ตัดแต่งกิ่งคลุมใต้โคนต้นบางๆ แล้วให้ใส่ปุ๋ยคอก+ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 อัตราส่วน 1 : 2 รอบทรงพุ่ม 1 กิโลกรัม/ต้น
- รดน้ำให้ชุ่มทุก 5 – 7 วัน
- มีการใช้สารชีวภัณฑ์ (เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า เชื้อราบิวเวอร์เรีย) เพื่อปัองกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดการใช้สารเคมี
ฐานเรียนรู้ที่ 4 :
เทคนิคการดูแลรักษาลำไยช่วงการติดผล
ผลเล็ก
- พ่นด้วยสาหร่ายสกัด 2 ครั้ง
- อีกประมาณ 15 วัน พ่นด้วยปุ๋ยสูตร 30–10-10 ประมาณ ½ กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร
- ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 25-7-7 ประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น
ผลโตปานกลาง (เมล็ดในดำ)
- พ่นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-20-20 ประมาณ ½ กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร
- ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น
ผลโต (ก่อนเก็บเกี่ยว 45 วัน)
- พ่นด้วยปุ๋ยสูตร 13-0-46 ประมาณ ½ กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร
- ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 13-0-46 ประมาณ 200 กรัม/ต้น