ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การดูแลรักษาพริก(ระยะปลูก/การตัดแต่งกิ่งพริก) เกษตรกรปลูก 4 แถวต่อแปลงทำให้เพิ่มต้นทุนการผลิตและง่ายต่อการระบาดโรคแมลง การปลูก 2-3 แถวต่อแปลง และตัดแต่งกิ่งพริกใต้ง่ามแรก หลังปลูกประมาณ 30 วัน ทำให้ทรงพุ่มพริกโปร่ง อากาศถ่ายเทดี แสงแดดส่องทั่วถึง ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการแพร่กระจายของโรคแมลงศัตรูพริกและช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
การใช้กับดัก(อย่างง่าย)ควบคุมศัตรูพริก การใช้กับดักกาวเหนียว กับดักผีเสื้อกลางคืน กับดักแมลงวันทองและลูกเหม็น ติดตั้งบริเวณรอบแปลงพริก ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงศัตรูพริก ทำให้โอกาสเกิดการระบาดของแมลงศัตรูพริกลดน้อยลง ช่วยลดการใช้สารเคมีและลดค่าใช้จ่ายลง
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การใช้สารชีวภัณฑ์ใช้ในการควบคุมโรคแมลงศัตรูพริก
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพริก
- ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า10 กรัม:น้ำ1 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์พริก นาน 24 ชั่วโมง
- ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า1 ส่วนผสมวัสดุปลูก 4 ส่วน(ดิน : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว = 1 : 2 : 3)
- ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. ผสมน้ำ 200 ลิตร รดต้นกล้าพริกเมื่ออายุ 10 วันและรดทุก 7 วัน และก่อนปลูกแช่น้ำดังกล่าวอีกครั้ง
- ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก.ผสมรำละเอียด 5 กก.และปุ๋ยคอก 40 กก.คลุกเคล้าให้เข้ากัน รองก้น หลุมพริกรองก้นหลุมพริก 10-20 กรัม/ต้น, และหว่านในแปลงพริก 50-100 กรัม/พื้นที่ 1 ตรม.

การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย เชื้อราเมตตาไรเซี่ยม แทนการใช้สารเคมี เมื่อพบแมลงศัตรูพริก
ฐานเรียนรู้ที่ 4 :
วิเคราะห์ต้นทุน/เสวนาการตลาดพริกเพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการผลิต ปัญหาอุปสรรคในการผลิตพริก ต้นทุนการผลิตของพริก