ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวและการเตรียมดิน
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เป็นพันธุ์บริสุทธิ์
2. ต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 %
3. อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 15 –20 กก. / ไร่ สำหรับนาหว่าน
4. อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 7 กก. / ไร่ สำหรับนาหว่าน

การเตรียมดิน
1. การไถดะ และ ไถแปร การไถดะเป็นการไถครั้งแรกพลิกดินขึ้นมาแล้วเว้นช่วงให้เมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถครั้งที่ 2 หรือไถแปรฝังกลบต้นวัชพืชลงในดิน จะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้มากช่วงเวลาระหว่างไถครั้งแรกกับครั้งที่ 2 ขึ้นกับปัจจัยการงอกของเมล็ดโดยเฉพาะความชื้น ถ้ามีความชื้นเหมาะจะทำให้งอกได้ดี และใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 7 วัน
2. การคราดหรือใช้ลูกทุน โดยการใช้ลูกทุนหรือเครื่องไถพรวนจอบหนุนปรับพื้นที่ให้เรียบ และทำเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำ เป็นการทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 (ลดได้ประมาณ 250 บาท/ไร่)
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ส่วนผสม
- มูลวัว (มูลสัตว์) 1,000 กก.
- หินฟอสเฟต (0-3-0) 25 กก.
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)2 กก.
- หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย1 ลิตร
- น้ำ1,000 ลิตร
- แอคทีฟ-พลัส 1 กก.
- ไฮโกร-601 กก.
วิธีทำ
1. นำมูลวัวมาปรับความชื้น 50% โดยทำเป็นชั้นๆ แล้วผสมปุ๋ยยูเรีย หินฟอสเฟต คลุกเคล้ากับมูลวัว นำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยผสมน้ำราดลงให้ทั่วกองปุ๋ย (หมักไว้ 1 เดือน)
2. จากนั้นนำมากองไว้เอาพลาสติกคลุม
3. กลับกองปุ๋ยครั้งที่ 1 หมักไว้ครบ 3 วัน
4. กลับกองปุ๋ยครั้งที่ 2 หมักไว้ครบ 7 วัน
5. กลับกองปุ๋ยครั้งที่ 3 หมักไว้ครบ 7 วัน
6. พอหมักครบกำหนด 1 เดือน นำออกผึ่ง กระจอยกองปุ๋ยให้แห้ง ก่อนนำไปใช้ให้นำ แอคทีฟ-พลัส กับ
ไฮโกร-60 ผสมรวมกับปุ๋ยหมัก จึงนำไปใช้ได้
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การทำนาโยน เป็นการทำนาที่สามารถควบคุมป้องกันข้าววัชพืชได้ผลดี และต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
เมื่อเปรียบเทียบการปลูกข้าวแบบต่างๆ การทำนาโยนใช้เมล็ดพันธุ์ 2 – 4 กก./ไร่ จากเดิม 15 – 20 กก./ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ถึง 80 – 85 %
2. การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำถาดกล้าข้าวที่มีอายุ 10 – 15 วัน วางในแปลงที่เตรียมไว้ กระจายให้สม่ำเสมอ อัตรา 60 – 70 กระบะต่อไร่ นำคาดมาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือดึงกล้าข้าวออกจากถาด โยนในแปลงนา โดยโยนให้สูงกว่าศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยให้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การโยนกล้า 1 คน สามารถโยนได้วันละ 4 –5 ไร่
3. การให้น้ำ น้ำมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของข้าว รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมวัชพืชอีกด้วย หากข้าวได้รับน้ำมากหรือน้อยเกินไปก็มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตให้ผลผลิต