ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การเตรียมต้นลำไย
- ตัดแต่งกิ่งลำไยให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องถึงบริเวณด้านในทรงพุ่ม เมื่อแต่งกิ่งเสร็จแล้วหลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 จำนวนขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มพร้อมกับให้น้ำเป็นประจำ เมื่อเริ่มแตกใบชุดที่ 1 ให้ฉีดพ่นสารกำจัดแมลง สารกำจัดเชื้อรา และฮอร์โมน (น้ำหมักชีวภาพ) ดูแล ต้น กิ่ง ใบให้ดี
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
การเตรียมต้นลำไย ก่อนราดสาร
- ก่อนราดสาร ต้นลำไยต้องสมบูรณ์ ได้ยอด 2 – 3 ยอด ทำการตัดแต่งกิ่งรอบที่ 2 เพื่อให้ทรงพุ่มโล่ง โปร่ง พองามไม่ให้หนาทึบเกินไป เมื่อลักษณะใบเพสะลาดทางดินใส่ด้วยปุ๋ยสูตร 8-24-24 จำนวน 1-2 กก. ต่อต้น ทางใบฉีดพ่นด้วยปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 1-2 กิโลกรัม+ สังกะสี 200 ซีซี + แอบซ่าสารจับใบ 40 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นสองครั้ง ห่างกันเจ็ดวัน
- วิธีราดสารโปแทสเซียมคลอเรท โดยใช้สารคลอเรทผสมน้ำราดรอบใต้ทรงพุ่ม
ให้น้ำตามพอประมาณ ทางใบใช้สารคลอเรท 3 ขีด ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
หลังราดสารทางดิน 3 - 5 วัน ติดต่อกัน 2 ครั้ง ห่างกัน 5 – 7 วัน
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การตัดแต่งช่อผล
- จะทำก็ต่อเมื่อลำไยออกดอก หรือผลที่มากเกินไป ทำการตัดแต่งช่อผลระยะที่ผลลำไยมีขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเหลือง หรือเท่ากับเมล็ดมะเขือพวง โดยตัดช่อผลให้มีผลเหลือไม่เกิน 60 – 80 ผลต่อช่อ การตัดแต่งผลออกช่วยทำให้ได้ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อมีคุณภาพดี ไม่แฉะ ผลที่ได้คือรายได้ต่อต้นมากกว่าการปล่อยให้ติดผลดกตามธรรมชาติมากถึง 2-4 เท่าตัว
ฐานเรียนรู้ที่ 4 :
การดูแลรักษาโรค
- แมลงศัตรูลำไยลำไยทุกแปลงจะมีโรค แมลงศัตรูลำไย คอยรบกวนอยู่ตลอดเวลา เจ้าของสวนจะต้องรู้จักโรคและแมลงศัตรูลำไย แล้วหาวิธีป้องกันกำจัด ให้ถูกที่ ถูกเวลา วิธีที่ดีที่สุดเกษตรกรจะต้องรู้จักการป้องกันดีกว่าที่จะต้องแก้ไขภายหลัง