ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์
ใช้สารชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา และบิวเวอเรียในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในนาข้าว เพื่อลดต้นทุนการผลิต และงดใช้สารเคมีในนาข้าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้ปลอดภัย ตั้งแต่การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวและทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว ตั้งแต่ระยะกล้าระยะแตกกอ ระยะตั้งท้อง และระยะออกรวง
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
การปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว
โดยการปลูกข้าวแบบแยกกอร่วมกับการปลูกข้าวระบบประณีต (SRI) ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และลดปริมาณการใช้น้ำ สามารถลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเหลือไร่ละ 3-5 กก.โดยการเพาะกล้าเหมือนการดำนาปกติ ถอนกล้าเสร็จแล้วนำมามัดรวมกัน และชำไว้ในนา เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง สามารถหลีกเลี่ยงการทำลายจากหอยเชอรี่ได้ชำไว้ประมาณ20-30 วัน หลังจากนั้นก็นำมาปลูกในนาโดยวิธีการปักดำ 1 ต้นต่อหลุม
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การจัดการดินปุ๋ย
การวิเคราะห์ดิน การผลิตและใช้การใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงคุณภาพดินได้ด้วยตัวเอง สามารถผลิต และใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าว และลดต้นทุนการผลิต ทำให้ได้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
ฐานเรียนรู้ที่ 4 :
การจัดการศัตรูข้าว
การป้องกันกำจัดหอยเชอรี่
1) วิธีกล เช่น การเก็บตัวหอย และไข่หอยเชอรี่การใช้สิ่งกีดขวางกั้นตามทางน้ำการใช้ไม้หลักกับดักล่อให้วางไข่การใช้เหยื่อล่อ โดยการใช้พืชต้นอ่อนล่อให้หอยมากินทำให้สามารถง่ายต่อการกำจัด เช่น ใบมะละกอ ใบมันเทศ
2) วิธีชีววิธี เช่น การเลี้ยงเป็ดให้กินหอยเชอรี่เป็นอาหาร
3)การใช้ฝักคูณกำจัดหอยเชอรี่
ฐานเรียนรู้ที่ 5 :
การเพิ่มมูลค่าข้าว
การเพิ่มมูลค่าข้าวโดยการผลิตข้าวหอมบรรจุถุงขาย ภายใต้ชื่อ ข้าวหอมปางหมู โดยเป็นข้าวที่ได้รับมาตรฐาน GAP ข้าว จากกรมการข้าว และพัฒนาบรรจุภัณฑ์สูญญากาศ เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาข้าวให้นานขึ้น ป้องกันการเกิดมอดและแมลง