ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning) และการจัดการดินอย่างถูกวิธีชุดดินในตำบลห้วยม้าประกอบด้วย 5 ชุดดินหลัก คือ ชุดดินที่ 5 15 16 29และ 33
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
ระบบนิเวศในแปลงนา และการบริหารศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน การควบคุมศัตรูพืชให้อยู่ในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยใช้วิธีการต่างๆร่วมกันอย่างเหมาะสมเพื่อให้การควบคุมมีประสิทธิภาพประหยัดและปลอดภัยอย่างยั่งยืน
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากและโคนเน่า สารเน่าสารป้องกันแมลงศัตรูพืช ปุ๋ยพืชสด
ฐานเรียนรู้ที่ 4 :
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ในการทำนาการปลูกปอเทืองหรือถั่วเขียวผิวมันก่อนฤดูทำนาปี เพื่อตัดวงจรโรค แมลง ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดปัญหาข้าวเรื้อปัญหาวัชพืช และลดการใช้สารเคมีการใช้เครื่องปักดำนาเพื่อแก้ไขปัญหา ขาดแคลนแรงงานและสะดวกในการตัดพันธุ์ปนผลิต ออกแบบแผ่นกล้าที่ใช้กับเครื่องปักดำเองการใช้แกลบดำโรยแปลงกล้าเพื่อป้องกันนกคิดค้นอุปกรณ์ลากแผ่นกล้าทดแทนวิธีการหาบดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าในการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงเครื่องพ่นสารเคมีในการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงเครื่องสีข้าวขนาดเล็กที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็น เครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว