ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
เทคนิคการตัดแต่งทรงพุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิต
- ตัดแต่งกิ่ง ด้วยเครื่องตัดหญ้าสะพายแบบข้ออ่อนโดยเปลี่ยนจากใบมีดเป็นใบเลื่อยวงเดือน
- ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง นำใบลำไยคลุมใต้ต้นลำไย กิ่งใหญ่เก็บออกถ้าไม่ใหญ่เกินไปใช้รถไถปั่นให้
เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
เทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดูให้ได้คุณภาพ
- บำรุงต้นลำไยให้สมบูรณ์ ทำลำไยให้แตกใบอย่างน้อย 3 ชุด
- ทำความสะอาดบริเวณทรงุ่มก่อนการใส่สารโปตัสเซียมคลอเรท
- เลือกใช้สารโปตัสเซียมคลอเรทที่มีคุณภาพและมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
- ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตามช่วงตามความต้องการของลำไย
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การแบ่งสวน แบ่งส่วนทำลำไยเพื่อลดความเสี่ยงด้านการตลาด
- ลำไยจะมีปัญหาช่วงในเพราะผลผลิตจะมากจนล้าตลาดทำให้ราคาตกต่ำ
- แบ่งสวนทำลำไยให้ก่อนฤดู หลังฤดูและนอกฤดูจะช่วยแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้
- การทำลำไยก่อนฤดู ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
- การทำลำไยหลังฤดู ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม
- การทำลำไยนอกฤดู ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน
ฐานเรียนรู้ที่ 4 :
การทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย
- หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง มองทะลุรอบต้น
- ใช้ใบลำไยที่ตัดแต่งกิ่งคลุมใต้โคนต้นบางๆ –หลังจากการตัดแต่งกิ่งและใช้ใบลำไยที่ตัดแต่ง
กิ่งคลุมใต้โคนต้นบางๆ แล้วให้ใส่ปุ๋ยคอก+ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 อัตราส่วน 1 : 2 รอบทรงพุ่ม 1 กิโลกรัม/ต้น
- รดน้ำให้ชุ่มทุก 5 – 7 วัน
ฐานเรียนรู้ที่ 5 :
การให้ลำไยน้ำอย่างรู้คุณค่า
- ใช้น้ำระบบสปริงเกอร์ช่วยควบคุมปริมาณการให้น้ำมากน้อยเฉพาะจุดได้ ช่วยประหยัดน้ำและค่าไฟฟ้า
- ช่วยให้น้ำตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต