ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การใช้พันธุ์ต้านทานพันธุ์ กข53
ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่คุณภาพดี ใช้อัตราส่วนที่เหมาะสมโดยมีลักษณะเด่นที่เหมาะสมกับพื้นที่คือต้านทานต่อแมลงบั่วระดับค่อนข้างต้านทานถึงต้านทานสูงในเขตภาคเหนือตอนบนผลผลิตสูง มีศักยภาพผลผลิตสูงถึง999 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ย 725 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ปทุม ธานี1 และพิษณุโลก 2 คิดเป็น 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับและใกล้เคียงกับพันธุ์กข21 คือ 731 กิโลกรัมต่อไร่และเป็นข้าวอมิโลสต่ำ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานอ่อนนุ่มเป็นที่นิยมของประชาชนที่บริโภคข้าวเจ้าในภาคเหนือ
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และกาวิเคราะห์ค่าธาตุในดิน การใช้ปุ๋ยถูกชนิด ถูกอัตรา ถูกเวลาโดยเน้นการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน ได้แก่ การตรวจดินเบื้องต้นที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อแปลงและการทำปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่ง พด 1 พด 2 เพื่อลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การใช้ชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคแมลง
การใช้ชีวภัณฑ์ในที่นี้จะผลิต 2 ชนิด คือ เชื้อราขาวบิวเวอร์เรีย เพื่อป้องกันกำจัดแมลงประเภท เพลี้ยกระโดด บั่ว และหนอนบางชนิด อีกชนิด คือ เชื้อราเขียวไตรโครเดอร์มา เพื่อป้องกันกำจัดโรคข้าวที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา โดยผลิตและใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ข้าวโดยการนำเชื้อราไตรโครเดอร์มาคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อป้องกันโรคไหม้ และมีการนำเชื้อราไตรโครเดอร์มาไปผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อป้องกันกำจัดโรคเชื้อราที่มาจากดิน