ฐานเรียนรู้ที่ 1 :
การเรียนรู้การเตรียมดินและการเลือกพันธุ์ข้าว
วิธีการไถดะ และการไถแปร การคราด การเตรียมต้นพันธุ์ข้าวปลูก เป็นการปลูกแบบวิธีต่างๆ เช่น
- นาหว่าน ต้องนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาแช่ในน้ำนานประมาณ 1 วัน และนำเมล็ดผึ่งในที่ร่ม และมีอากาศถ่ายเทดี
นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้นหุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 2 วัน ก่อนที่จะนำไปหว่าน
- นาดำ การนำเมล็ดข้าวมาเพาะปลูกในแปลงเพาะกล้า จนได้ต้นกล้ามีอายุประมาณ 25–30 วัน แล้วจึงถอนเพื่อเอาไปปักดำ หากใช้เครื่องปักดำจะโรยเมล็ดข้าวถาดเพาะกล้าจนอายุประมาณ 8-10 วัน นำไปปักดำ
- นาโยน นำเมล็ดข้าวมาเพาะในถาดเพาะกล้า ดูแลต้นกล้าจนมีอายุประมาณ 10-15 วัน ต้นกล้าสูงประมาณ 3-5 นิ้ว แล้วนำไปโยนลงในแปลง
ฐานเรียนรู้ที่ 2 :
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปัจจัยที่เกษตรกรควรคำนึงถึงการใส่ปุ๋ยในนาข้าวให้มีประสิทธิภาพ
1. พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรต้องการปลูกเป็นพันธุ์ข้าวชนิดใด เป็นพันธุ์ที่ไวต่อแสง หรือพันธุ์ที่ไม่ไวต่อแสง ซึ่งข้าวแต่ละชนิดมีการตอบสนองปุ๋ย และให้ผลผลิตสูงแตกต่างกัน
2. ข้าวไวต่อช่วงแสงจะตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ให้ผลผลิตปานกลาง และปลูกได้เพียงปีละครั้งเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ระยะเวลาที่ใส่ปุ๋ยควรใส่ 1 ครั้ง คือ นาดำใส่ระยะแรกในช่วงปักดำ และระยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก ส่วนในนาหว่านใส่ระยะหลังงอกแล้ว 15 – 20 วัน และระยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก
3. ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จะตอบสนองต่อปุ๋ยสูง ให้ผลผลิตสูง และปลูกได้ตลอดปี ระยะเวลาที่ควรใส่ปุ๋ยควรใส่ 3 ระยะ คือ นาดำ ใส่ระยะแรก ที่มีการปักดำ ระยะที่ข้าวแตกกอสูงสุด และระยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก ส่วนในนาหว่านใส่ครั้งแรกหลังข้าวงอกแล้ว 15 – 20 วัน ระยะที่ข้าวแตกกอสูงสุด และระยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก
ฐานเรียนรู้ที่ 3 :
การปฏิบัติดูแลรักษา
- การทำนาโยน การทำนาโยน เป็นการทำนาที่สามารถควบคุม ป้องกันข้าววัชพืชได้ผลดี และต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบการปลูกข้าวแบบต่างๆ การทำนาโยนใช้เมล็ดพันธุ์ 2–4 กิโลกรัม/ไร่ จากเดิม 15–20 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ถึง 80–85 %
- การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 เซนติเมตร นำถาดกล้าข้าวที่มีอายุ 10–15 วัน ไปวางในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะนำถาดกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือดึงกล้าข้าวออกจากถาดโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน
- การให้น้ำ น้ำมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของข้าว รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมวัชพืชอีกด้วย หากข้าวได้รับน้ำมากหรือน้อยเกินไปก็มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตให้ผลผลิต ปริมาณน้ำที่เหมาะสม